ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตร
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด
คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม
ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
"อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี"
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น